ย้อน 5 หนังไทย ถูกห้ามฉายในไทย – ลุ้น 'หุ่นพยนต์' จะได้ฉายหรือไม่? – คมชัดลึก

Online
09 มี.ค. 2566
|
1.คนกราบหมา
 
คนกราบหมา เป็นหนังตลกร้ายว่าด้วยลัทธิประหลาดที่ผู้คนพากันกราบไหว้หมา ภาพยนตร์มีกำหนดฉายครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ ครั้งที่ 1 (Bangkok Film Festival) ปี พ.ศ. 2540 
 
ก่อนงานเปิดเทศกาลภาพยนตร์ มีผู้ส่งโทรสารร้องเรียนไปที่กองเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ ว่าบทภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เหมาะสม และดูหมิ่นศาสนาพุทธ กองเซ็นเซอร์ภาพยนตร์เข้ามาตรวจสอบแล้ว ไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ 
 
ต่อมา คนกราบหมา ได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ ฮาวาย ลอสแอนเจลิส นิวยอร์ก แต่ไม่มีโอกาสได้ฉายในประเทศไทย ยกเว้นการฉายเป็นการภายใน เพียงรอบเดียวที่สถาบันเกอเธ 
 ย้อน 5 หนังไทย ถูกห้ามฉายในไทย - ลุ้น ‘หุ่นพยนต์’ จะได้ฉายหรือไม่?  

 
2.เชคสเปียร์ต้องตาย
 
เชคสเปียร์ต้องตายใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบละครซ้อนละคร ดำเนินเรื่องควบคู่กันไป มีเหตุการณ์สองส่วน คือละครเวทีและโลกภายนอกในเหตุการณ์ร่วมสมัย มีตัวละครนำชื่อ "เมฆเด็ด" (Mekhdeth) เป็นขุนนางที่ล้มอำนาจกษัตริย์ และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ เมฆเด็ดลุ่มหลงในอำนาจ เกิดหวาดระแวงว่าจะถูกล้มล้าง จนต้องฆ่าใครต่อใครเพื่อจะได้อยู่ในอำนาจต่อไป เรื่องราวทั้งหมดเล่าผ่านมุมมองของตัวละครที่ชื่อว่า "บุญรอด" 
 
เชคสเปียร์ต้องตาย สร้างจากเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีกำหนดออกฉายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555
ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ (กองเซ็นเซอร์) กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ได้รับเรท "ห" หรือ ห้ามเผยแพร่ในประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่ามีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ทั้งนี้เนื่องจากในภาพยนตร์มีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีการนำฟุตเทจภาพความเสียหายจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทยเมษายน พ.ศ. 2552 มาใช้ และการให้ปิศาจในเรื่องสวมชุดสีแดงเปรียบเหมือนการกล่าวหาเสื้อแดง 
 ย้อน 5 หนังไทย ถูกห้ามฉายในไทย - ลุ้น ‘หุ่นพยนต์’ จะได้ฉายหรือไม่?  
3.แมลงรักในสวนหลังบ้าน
 
หลังการฉายรอบปฐมทัศน์ ภาพยนตร์ไม่ผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม ด้วยเหตุผลว่า มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน เนื่องจากบางส่วนมีการนำเสนอภาพของขององคชาต การร่วมเพศ และการค้าประเวณี และประกาศห้ามฉาย 
 
ต่อมาได้มีการพยายามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้รอบจำกัดผู้ชม ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญระหว่างเสวนาเชิงวิชาการเรื่อง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับรัฐธรรมนูญไทย จัดโดยมูลนิธิหนังไทย, หอภาพยนตร์, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย, เครือข่ายคนดูหนังแห่งประเทศไทย และนิตยสารไบโอสโคปแต่ก็ได้มีการระงับการฉายภาพยนตร์รอบพิเศษนั้น 
 
แม้ ธัญญ์วาริน ผู้กำกับ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์คณะใหญ่ ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการแล้วก็ตาม แต่คณะกรรมการได้มีมติ 13 ต่อ 4 มิให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในประเทศไทยทุกกรณี นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของไทยที่ถูกห้ามฉายหลังจากพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์พุทธศักราช 2551 มีผลบังคับใช้ 
 
ขณะที่ผู้กำกับได้ยื่นเรื่องไปยังศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อไป กว่าจะมีการต่อสู้กันยาวนานอีกหลายปีต่อมาในชั้นศาล จนหนังได้ออกฉายในที่สุด
 ย้อน 5 หนังไทย ถูกห้ามฉายในไทย - ลุ้น ‘หุ่นพยนต์’ จะได้ฉายหรือไม่?  
4.อาบัติ
 
กระทรวงวัฒนธรรม สั่งห้ามฉายเนื่องจากพิจารณาแล้วว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงออกถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อศาสนาพุทธ อาจะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด สุดท้ายทีมผู้สร้างก็ตัดสินใจปรับเนื้อหาและเปลี่ยนชื่อ จนได้เข้าฉายในที่สุด โดยเปลี่ยนชื่อเป็น อาปัติ 
 ย้อน 5 หนังไทย ถูกห้ามฉายในไทย - ลุ้น ‘หุ่นพยนต์’ จะได้ฉายหรือไม่?  
5.นาคปรก
 
ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา แน่นอนว่าเป็นหนึ่งในประเด็นละเอียดอ่อนและเสี่ยงต่อการถูกเพ่งเล็ง ยิ่งการที่นาคปรก นำเสนอเรื่องของโจรในคราบพระ สมาคมพุทธศาสน์สัมพันธ์กับองค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก จึงได้ยื่นหนังสือต่อทางกระทรวงวัฒนธรรมให้ห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื่องจากกลัวว่าอาจทำให้ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์เสื่อมเสีย ทางผู้สร้างจึงได้ปรับแก้ไขเนื้อหา จนได้เข้าฉายในที่สุด
 ย้อน 5 หนังไทย ถูกห้ามฉายในไทย - ลุ้น ‘หุ่นพยนต์’ จะได้ฉายหรือไม่?  
ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักรไทย คือ ภาพยนตร์ที่คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ มีมติห้ามเผยแพร่ภาพยนตร์ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 26 และมาตรา 29 และกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. 2552 ข้อ 7 ที่กำหนดภาพยนตร์ลักษณะดังกล่าวไว้ในข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
เนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระสำคัญของเรื่องเป็นการเหยียดหยามหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ศาสนา หรือไม่เคารพต่อปูชนียบุคคลปูชนียสถาน หรือปูชนียวัตถุ
เนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ
เนื้อหาที่กระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ
สาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์
เนื้อหาที่แสดงการมีเพศสัมพันธ์ที่เห็นอวัยวะเพศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่น่าสนใจ
เพิ่ม คมชัดลึก ออนไลน์
ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *