"SCALA ที่ระลึกรอบสุดท้าย" มากกว่า ภาพยนตร์สารคดี ฉายซ้ำ ภาพความ … – คมชัดลึก

Online
19 ธ.ค. 2565
|
รอบฉายครั้งพิเศษ ของ ภาพยนตร์สารคดี เรื่อง "SCALA ที่ระลึกรอบสุดท้าย" จะจบลงแล้ว แต่ความประทับใจยังคงอยู่ในความทรงจำ สำหรับครั้งนี้ พิเศษกว่าครั้งอื่น เลือกจัดที่ โรงพหลโยธินรามา หนึ่งในโรงหนังแสตนด์อะโลนที่เหลือเพียงไม่กี่แห่งในกรุงเทพ พร้อมร่วมพูดคุยกับ "แก๊ป อนันตา ฐิตานัตต์" ผู้กำกับภาพยนตร์ และ "โต้ง อภิชน รัตนาภายน" โปรดิวเซอร์ ที่มาร่วมบอกเล่าที่มา 
สำหรับ SCALA  หรือ สกาลา คือ โรงภาพยนตร์สุดคลาสสิคที่ถูกสร้างมานาน และมีชื่อเสียงมากในช่วงหลังสงครามโบห  ด้วยสถาปัตยกรรมการตกแต่งที่ตั้งชื่อตามโรงอุปรากร ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี และนำมาวัฒนธรรมตะวันออก ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมตะวันตก มีความโดดเด่นด้วยโคมระย้าทรงหยดน้ำค้าง 5 ชั้น จนเคยได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น แต่ความสวยงามไม่ยืนยาว เมื่อพิษจากโควิด 19 ส่งผลให้ต้องปิดตัวลง และเป็นที่มาของการทุบทำลายทิ้ง และคืนที่ดินสู่ทางจุฬา ขอบคุณภาพ จากเพจ SCALA Documentary  
 
ช่วงแห่งการพูดคุย ผู้กำกับ และโปรดิวเซอร์ ได้ร่วมเล่าเรื่องราว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการถ่าย ภาพยนตร์ ประกายแห่งความโกรธ เมื่อรู้ว่า โรงหนังจะถูกรื้อถอนทิ้ง กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของการคว้ากล้องมาเก็บภาพ เพราะอยากส่งต่อให้รู้สึกเสียดาย จวบจนได้มีโอกาสไปเวิลค์ช็อป เลยมีโอกาสได้มองกว้างกว่าที่เคยเห็น เขียนไปตัดไป นำเรื่องราวของผู้กำกับ ในฐานะลูกสาวของอดีตพนักงานโรงภาพยนตร์สกาลามาถ่ายทอดผ่านสารคดี จนได้เห็นมุมมองที่ลึก และต่างไปจากเดิม 
 
โดยภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ เคยได้รับเลือกให้ฉายในเทศกาลดัง อาทิ Berlin Film Festival ครั้งที่ 72 และอีกหลายแห่ง รวมถึง เข้าชิงรางวับหลายสาขา และ คว้ารางวัล Youth Eye Award จากเทศกาลภาพยนตร์ EBS International Documentary Festival ซึ่งตัดสินโดยคณะกรรมการที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาด้านภาพยนตร์ จากสมาคมนักศึกษาภาพยนตร์คยองกี (GFSA) เกาหลีใต้ขอบคุณภาพ จากเพจ SCALA Documentary  
วิเคราะห์ ทำไมถึงกินใจใครหลายคน ภาพยนตร์สารคดี เรื่อง SCALA "ที่ระลึกรอบสุดท้าย" ฉายให้เห็นภาพทุกรายละเอียดของ โรงหนัง "สกาลา" ตั้งแต่วินาทีแรกที่ลงมือรื้อถอน ตั้งแต่พรม ผ้าม่าน เก้าอี้ในโรงหนัง โคมระย้า จวบจนถูกทิ้ง และทุบทำลายเหลือเพียงเศษซาก ราวกับถ่ายทอดให้เห็นถึงความรู้สึกที่ถูกถอดทิ้งไปทีละส่วน 
 
มากกว่าย้อนให้เห็นทุกอณูของ โรงหนัง ที่ไม่มีอยู่แล้วนั้น เรายังได้เดินตามเส้นเรื่องลิ้นชักความทรงจำของเด็กคนหนึ่งที่เคยอาศัยอยู่ที่นั่น ผ่านชีวิตของผู้กำกับ จนทำให้คนดูสามารถสัมผัสได้ถึงกลิ่นอาย และแก่นแท้ของการใช้ชีวิต มากกว่านั้น ยังสอดแทรกวิถีชีวิต สะท้อนปัญหาของสังคม ไม่ว่าจะวินาที วิกฤตต้มยำกุ้ง เหตุการณ์การเมือง สงครามที่เกิดขึ้นกลางเมืองกรุงเทพ ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ส่งผลให้อดีตถูกถอนทิ้ง รวมถึงฉายภาพความเปลี่ยนแปลง ของยุคสมัยที่เดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แทบจะไม่รอใคร ทั้งยังน่าเจ็บปวดยิ่งกว่า กับการทิ้งคนที่เหลือไว้ข้างหลังอย่างบ้าคลั่ง
 
หลังจากที่รอบพิเศษที่ฉายเสร็จแล้ว หลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ขอบคุณที่นำมาภาพเหล่านี้กลับมาให้เห็นอีกครั้ง ภาพความทรงจำ ที่หลงเหลืออยู่ในภาพยนตร์ รวมถึงเสียงคุณลุงคุณป้าพนักงานที่ดังขึ้นแทรกไปมา ผูกเข้ากับเนื้อเรื่องจนเหมือนได้กลับไปอยู่ ณ ที่ตรงนั้น อีกครั้งหนึ่ง แม้แต่คนที่ไม่เคยได้สัมผัสสถานที่จริง และคงไม่มีโอกาสอีกแล้วขอบคุณภาพ จากเพจ SCALA Documentary ขอบคุณภาพ จากเพจ SCALA Documentary  
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่น่าสนใจ
เพิ่ม คมชัดลึก ออนไลน์
ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *